ยินดีต้อนรับคณะกรรมการ
ยินดีต้อนรับคณะกรรมการ
previous arrow
next arrow

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์การนำเสนอข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ประวัติส่วนตัว

  • ชื่อนายพัชรพล ชลกาญจน์
  • ตำแหน่ง ครู

สถานที่ทำงาน

  • โรงเรียนบ้านกะเอิน
  • สังกัด สพป ศรีสะเกษ เขต 1

ข้อมูลการติดต่อ

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 16 ชั่วโมง / สัปดาห์

ระดับชั้นชื่อวิชาจำนวนชั่วโมง
ป.3-ม.3วิชาการงานอาชีพ6
ม.1-ม.3วิชาวิทยาการคำนวณ 3
ม.1-ม.3วิชาคอมพิวเตอร์3

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 3 ชั่วโมง / สัปดาห์

ระดับชั้นชื่อกิจกรรมจำนวนชั่วโมง
ม.1ลูกเสือ1
ม.1จริยธรรม1
ม.1ชุมนุม1
  • งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์
  • งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
คำสั่งปฏิบัติหน้าที่สอนของครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ปีการศึกษา 2565

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์  การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

                    ประเด็นท้าทาย เรื่อง การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ  Active Learning 

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

                    จากการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณ 2 หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี พบว่านักเรียนยังใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆไม่ถูกต้องไม่สามารถพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ หรือเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

– การวางแผน (Plan)

   ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ  Active Learning  ที่เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ

– การปฏิบัติ (Do)

. นำกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2 หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

– การตรวจสอบ (Check)

1. ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2 หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี

2. ศึกษาข้อมูลตอบกลับของผู้เรียน (Feedback) ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2 หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี

– การปรับปรุงแก้ไข (Act)

1. ปรับปรุงแก้ไขกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2  หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี

1.1 รวบรวมข้อมูลตอบกลับจากผู้เรียน (Feedback) ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2 หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อแยกประเด็นในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้

1.2 นำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่วง PLC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาตามประเด็น

1.3 ศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแล้วจัดทำเป็นสารสนเทศเพื่อใช้แก้ปัญหาในรอบปีถัดไป

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 75 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2  หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสูงขึ้น                      

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning  วิชาวิทยาการคำนวณ 2 หน่วยการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสูงขึ้นและเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

แผนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565